นวัตกรรม 3D Printing

               การพิมพ์ 3 มิติหรือ 3D Printing เป็นนวัตกรรมที่ช่วยให้มนุษย์สร้างอะไรได้มากขึ้น เร็วขึ้น ซับซ้อนมากขึ้น ภายในราคาที่เอื้อมถึงได้ จนสามารถกล่าวได้ว่า 3D Printing อาจเป็นหัวใจสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตในอนาคต

ในอุตสาหกรรมการผลิต การสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้นมีวิธีการที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับดีไซน์ วัสดุ และการใช้งาน แต่อย่างไรก็ตามมันย่อมมีข้อจำกัดในการสร้างอยู่เสมอ สิ่งของบางรูปทรงไม่อาจทำการ ตี หลอม หรือขึ้นรูป ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ทว่านวัตกรรม 3D Printing สามารถทำได้ และทำได้ไวอีกทั้งยังสามารถใช้ร่วมกับวัสดุได้หลากหลาย

ข้อดีของนวัตกรรม 3D Printing ที่ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตให้ก้าวหน้า มีดังนี้

  • สร้างวัตถุที่ซับซ้อนได้ ชิ้นงานที่อาจทำได้ยากในการหลอมหรือตี อาจทำได้ง่ายๆ ไม่จำเป็นต้องมีการถอดประกอบชิ้นงานเลย ด้วยเทคโนโลยี 3D Printing

  • เป็นเทคโนโลยีที่มีความเร็วในการผลิตสูงด้วยกระบวนการ 3D Printing แม้ว่าชิ้นงานจะมีความซับซ้อนปัจจุบันจึงเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมในการผลิตชิ้นงานทดสอบ ไปจนถึงสินค้าแบบจำนวนมาก

  • คนทั่วไปสามารถเข้าถึงการใช้งาน 3D Printing ได้ เนื่องด้วยอุปกรณ์ 3D Printer มีการใช้งานที่ง่าย

  • จึงทำให้คนทั่วไปสามารถสร้างสิ่งของที่ตัวเองออกแบบในคอมพิวเตอร์ได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาโรงงานอุตสาหกรรม

  • ใช้งานกับวัสดุได้หลากหลาย 3D Printing สามารถใช้งานร่วมกับวัสดุที่ไม่ว่าจะเป็นพลาสติก เหล็ก ไนลอน ไฟเบอร์ ไทเทเนียม ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้งานประเภทไหนแล้วมีเทคโนโลยีแยกย่อยใดๆ ร่วม

  • ลดปริมาณของเสียที่เกิดจากการผลิต 3D Printing เป็นการสร้างชิ้นงานตามแบบด้วยวัสดุตั้งต้นแบบเกือบ 100% ไม่มีการตัด เจาะ หรือ เฉือน ไม่นับในเรื่องการตกแต่ง

  • ลดความเสี่ยงในการทำงาน 3D Printer เป็นอีกอุปกรณ์งานสร้างที่มีความเสี่ยงในการใช้งานต่ำ ไม่ว่าใครก็สามารถใช้งานได้ย

จุดเด่นของ 3D Printing ที่ส่งผลกระทบสำคัญในอุตสหกรรมการผลิตคือ “ความเข้าถึงง่าย” ของ 3D Printing ซึ่งเปิดโอกาสให้เด็กนักเรียน หรือนักศึกษาสามารถผลิตผลงานของตัวเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาโรงงานอุตสาหกรรม หมายความว่าผลงานที่เกิดจากความสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่จะมีปริมาณที่สูงขึ้น มีงานที่หลากหลายเข้าสู่ตลาดมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้ธุรกิจส่วนตัว SMEs ธุรกิจที่เกี่ยวกับการสร้างงานศิลปะ มีกำลังผลิตเพิ่มอีกด้วย เทคโนโลยี 3D Printing นั้นช่วยพัฒนาคุณภาพโดยรวมของอุตสาหกรรมการผลิตให้ก้าวหน้า และอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ก็ได้ประโยชน์ แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าโรงงานหรือบริษัทเหล่านั้นต้องการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ และการเปลี่ยนแปลงการผลิตมาใช้ 3D Printing มีความคุ้มค่ากับอุตสาหกรรมนั้นหรือไม่

ด้วยความที่ 3D Printing นั้นเข้าถึงได้ง่าย ส่งผลให้เกิดผลงานที่หลากหลายมากขึ้น จึงมีแนวโน้มว่าเทคโนโลยี 3D Printing จะเข้ามีบทบาทมากขึ้นและกลายเป็น “เทรนด์” ใหม่ในอนาคต โดยทาง International Data Corporation (IDC) ระบุว่ามีแนวโน้มที่อุตสาหกรรม 3D Printing บนโลกจะเติบโตขึ้นถึง 22.7 พันล้านเหรียญ คิดเป็น 716.64 ล้านบาท โดยการผลิตด้วย 3D Printing จะกระจายอยู่ในอุตสาหกรรมการผลิต อิเล็กทรอนิกส์ การบริการพิมพ์ 3 มิติ การแพทย์ ไปจนถึงอสังหาริมทรัพย์ แสดงให้เห็นชัดเลยว่า 3D Printing มีความครอบคลุมอุตสาหกรรมด้านต่างๆย

 สำหรับประเทศไทย อาจยังไม่เห็นบทบาทของเทคโนโลยี 3D Printing ที่ชัดเจนมากนัก แต่ทว่าในระดับสากล นวัตกรรมด้าน 3D Printing ถูกพัฒนาไปไกลมากและมีบทบาทในหลายๆ อุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น

  • การผลิตอวัยวะเทียม 

  • การสร้างบ้านและที่อยู่อาศัย

  • งานศิลปะ 

  • การผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร

       นวัตกรรมดังกล่าวยังถูกพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้รองรับวัสดุต่างๆ ได้มากขึ้น เพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงสามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น แสดงให้เห็นเลยว่า ณ ช่วงเวลาปัจจุบัน ไม่ใช่ขีดสุดของการใช้งาน 3D Printing แต่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของ 3D Printing  

       แนวโน้มการใช้ 3D Printing ในอนาคต แม้ว่าปัจจุบัน 3D Printing จะเข้าถึงได้ง่าย แต่ในอนาคตก็มีแนวโน้มที่มันจะสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นไปอีก จนอาจเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือประจำบ้านของใครหลายคนเลยก็เป็นได้ 

นอกเหนือจากนั้น แนวโน้มของ 3D Printing ในอนาคตจะมีบทบาทอย่างมากในด้านการแพทย์ โดยเฉพาะการสร้างอวัยวะภายในต่างๆ เพื่อใช้งานในมนุษย์ ซึ่งปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา อีกทั้งยังมีในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์เองก็มีการพัฒนาเกียวกับ 3D Printing อย่างจริงจัง ที่ไม่แน่ว่าบ้านราคาถูกในประเทศไทย อนาคตข้างหน้าอาจใช้ 3D Printing ในการสร้างก็เป็นไปได้ และแน่นอนว่ามีข้อดีก็ย่อมมีข้อเสียตามมา 3D Printing เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ถูกจับตามองว่าสามารถสร้างบรรดาสิ่งเทียมอาวุธขึ้นมาได้ง่ายมากๆ จนทั้งประเทศไทยและระดับสากลจับตามองอย่างเข้มงวดในระดับหนึ่ง หากต้องการใช้งานในอนาคตเราอาจต้องมีการดูแลและควบคุม รวมถึงออกกฎหมายในการใช้งานเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในเรื่องที่ถูกที่ควร