ในโลกของการผลิต 3D Printing เป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนเกมไปอย่างมาก! เริ่มต้นจากการสร้างต้นแบบใหม่และได้พัฒนาเป็นวิธีการผลิตหลักที่มาปฏิวัติอุตสาหกรรมไปตลอดการ ด้วยการพิมพ์ 3 มิติผู้ผลิตสามารถสร้างการออกแบบที่ซับซ้อนและปรับแต่งได้อย่างง่ายดายลดเวลาการผลิตและต้นทุน แต่ก่อนเทคโนโลยีนี้จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวงการ การผลิตเรามาดูกันว่าประวัติศาสตร์ของเจ้าเครื่องพิมพ์สามมิติเป็นมายังไง และอนาคตแห่งวงการพิมพ์สามมิติจะเป็นยังไงมารับชมกันครับ
เครื่องพิมพ์สามมิติยุคเริ่มต้น
ศาสตร์ตราจารย์ (Hideo Kodama)
1980 ปีประวัติศาสตร์กำเนิดเครื่อง 3DPrinter เริ่มต้นจากยุคเริ่มต้นของเครื่อง 3D Print เกิดขึ้นที่แรกโดยความพยายามของศาสตร์ตราจารย์ Hideo Kodama อาจารย์จากสถาบันวิจัยอุตสาหกรรมของเมืองนาโกยส ประเทศญี่ปุ่น โดยอาจารย์ ฮิเดโอะได้ค้นพบวิธีการผลิต Prototype ขึ้นมาใหม่โดยอาศัยกระบวนการที่คล้ายๆกับการก่ออิฐทีละชั้นๆขึ้นไปโดยใช้เรซิ่นที่มีความไวต่อแสง UV 405 nm โดยปฎิกิริยานี้มีชื่อเรียกว่า Photopolymer เมื่อเรซิ่นโดนแสง UV ก็จะเกิดการแข็งตัวขึ้นมาเป็นชั้นๆ โดยเครื่องประเภทนี้จะมีชื่อต่อมาว่า SLA(Stereolithography) แต่เป็นที่น่าเสียดายที่อาจารย์ฮเดโอะไม่ได้จดสิทธิบัตรเอาไว้แต่ก็ถือได้ว่าอาจารย์ฮิเดโอะเป็นบิดาแห่งเครื่อง 3DPrinter แบบ SLA(Stereolithography) เลยก็ว่าได้
อเลน เลอ มีโอต (Alain Le Mehaute)
แต่เวลาต่อมาได้มีนักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศสนามว่า อเลน เลอ มีโอต(Alain Le Méhauté) สนใจหลักการของเครื่อง 3DPrinter ของอาจารย์ฮิเดโอะนั่นก็คือหลักการปริ้นแบบ SLA(Stereolithography) และได้จดสิทธิบัตรหลักการทำงานของการพิมพ์สามมิติโดยใช้เรซิ่นเป็นคนแรกแต่ก็เป็นที่น่าเสียดายที่ไม่มีใครเอาไปต่อยอดทางธุรกิจ ผมคิดว่าเป็นเพราะช่วงนั้นเทคโนโลยีหลายๆยังไม่พร้อมเหมือนกับปัจจุบันและราคาวัสดุอุปกรณต่างๆค่อนข้างสูงจึงถูกปล่อยร้างไปอย่างน่าเสียดาย
พิมพ์สามมิติยุคพัฒนา
ในยุคนี้จะเป็นยุคที่เครื่อง 3D Printer เริ่มเข้าสู่เชิงพาณิชย์มากขึ้น เริ่มทำให้ผู้คนเข้าถึงมากขึ้นโดยในยุคนี้ผมจะสรุปบุคคนสำคัญๆมาให้ตามความเข้าใจของผมมาดังนี้
บิดาแห่ง 3D Printing “ชัค ฮัลล์ Chuck Hull”
ต่อมา ชัค ฮัลล์ หรือที่คนในวงการ 3DPrint เรียกกันว่าบิดาแห่งการพิมพ์สามมิติได้สนใจที่จะเอาสิทธิบัตรการผลิตแบบ SLA มาต่อยอดทำธุรกิจและสร้างเครื่องพิมพ์สามมิติขึ้นมา เค้าจึงได้ก่อนตั้งบริษัท 3D Systems ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่อง 3DPrinter เชิงพาณิชย์เจ้าแรกของโลกนี้ ซึ่งในปัจจุบันเครื่องพิมพ์ของ 3D Systems ก็ยังจัดจำหน่ายจนมาถึงปัจจุบัน อีกหนึ่งคุณูปการของ ชัค ฮาลล์ นั้นก็คือการคิดค้นรูปแบบไฟล์ stl file format และเขายังได้รับสิทธิบัตรของสหรัฐอเมริการมากกว่า 60 รายการ นับเป็นผู้มีพระคุณในวงการ การพิมพ์สามมิติเป็นอย่างมาก
Scott Crump
มาถึงบุคคลสำคัญอีกคนที่ทำให้เครื่อง 3DPrinter นั้นเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้นนั่นก็คือ คุณ สก็อต ครัมป์ ที่ได้คิดค้นกระบวนการผลิตแบบ FDM (Fused Deposition Modeling) หรือ FFF(Fused Filament Fabrication) เป็นระบบที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน ที่ได้รับการจดสิทธิบัตรและจดสิทธิบัตรในปี 1989 และเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Stratasys ร่วมกับภรรยาของเขา Lisa Crump ปัจจุบันเขาดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการของ Stratasys ซึ่งผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องพิมพ์สามมิติระดับอุตสาหกรรม และมีหลากหลายสินค้าที่ Stratasys จำหน่ายไม่ว่าจะเป็น เครื่องพิมพ์สามมิติเรซิ่น หรือ Material เกรดอุตสาหกรรมต่างๆ ครอบครุมหลายอุตสาหกรรม ลองเข้าไปชมเว็บไซท์ของบริษัท Stratasys
Dr.Adrian Bowyer
ต่อมาในยุค 2000 ดร.เอเดรียน โบว์เยอร์ ทำให้เครื่อง 3DPrinter เป็นที่แพร่หลายมากยิ่งขึ้นและคนทั่วไปเข้าถึงได้จากโครงการของเขานั่นก็คือโครงการ Reprap (Replicated Rapid Prototyper) ของ Dr.Adrian Bowyer เป็นโครงการเพื่อพัฒนาเครื่องพิมพ์ 3D ราคาประหยัดที่สามารถพิมพ์ส่วนประกอบส่วนใหญ่ ประกอบด้วยตัวเองได้ หลังจากโครงการนี้เกิดขึ้นทำให้เครื่อง 3DPrinter เป็นที่แพร่หลายมากยิ่งขึ้นมีผู้พัฒนา และผู้ผลิตเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากจากทั่วทุกมุมโลกจนเข้าสู่ยุคปัจจุบัน นับว่า ดร.เอเดรียน โบว์เยอร์ นั้นทำให้วงการ 3D Printing เป็นที่รู้จักและเข้าถึงกันทั่วทุกมุมโลกเลยก็ว่าได้ เพราะเครื่องพิมพ์สามมิติที่ใช้กันอยู่ในยุคปัจจุบันนั้นจุดเริ่มต้นก็มาจาก ดร.เอเดรียน โบว์เยอร์ นั่นเอง
เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติในยุคปัจจุบัน
ในปัจจุบันมีผู้ผลิตและผู้ให้บริการเป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นเครื่องปริ้นสามมิติแบบ FDM,SLA หรือ SLS ซึ่งแต่ละเจ้าก็จะมีข้อดีข้อเสียต่างกันไปซึ่งในปัจจุบันนี้ถือได้ว่าเครื่องปริ้นสามมิติสามารถเข้าถึงได้ง่ายไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาที่ทำงานต้นแบบส่งอาจารย์ หรือจะเป็นบริษัที่ทำเกี่ยวกับรถยนต์หรือผลิตอะไหล่รถยนต์ก็สามารถใช้การปริ้นสามมิติปริ้นออกมาก่อนที่จะผลิตจริงซึ่งทำให้ประหยัดเวลาปละประหยัดทรัพยากรณ์มากรวมไปถึงวงการพระ งานพุทธศิลป์ก็สามารถใช้เทคนิคและเครื่องพิมพ์สามมิติเข้ามาทำให้งานคมชัดสวยขึ้นได้
อนาคตของวงการปริ้นสามมิติ
ในอานาคตของวงการปริ้นสามมิติ ผมคิดว่าการปริ้นสามมิติไม่มีข้อจำกัด สามารถปรับใช้ได้กับทุกวงการอย่างเช่นที่ในปัจจุบันก็เริ่มมีการปริ้นสามมิติบ้านทั้งหลัง ถ้าอีกหน่อยเทคโนโลยีนี้เข้าถึงง่ายเหมือนเครื่องปริ้นสามมิติ FDM แล้วผมคิดว่า Elon Musk คงได้ใช้เทคโนโลยีนี้ไปสร้างอนานิคมที่ดาวอังคารอย่างแน่นอน นอกจากนี้สิ่งที่ผมคิดว่าวงการแพทย์ก็เป็นที่น่าสนใจถ้าเราสามารถทำให้ผู้คนเข้าถึงง่ายและราคาประหยัด ซึ่งจะทำให้อนาคตการรักษาจะเป็นเรื่องที่ง่ายแล้วเท่าเทียมกันในการรักษาผู้ป่วยอีกด้วย
สรุป
จากจุดเริ่มต้นที่อาจารย์ฮิเดโกะได้ริเริ่มสร้างเครื่องปริ้นสามมิติเครื่องแรกขึ้นมาจนไปถึง ชัค ฮาร์ล ที่สร้างเครื่องปริ้นสามมิติเชิงพาณิชย์เป็นเครื่องแรกของโลกรวมถึงดร.เอเดรียน โบว์เยอร์ ที่ทำให้เทคโนโลยีการปริ้นสามมิติเข้าถึงง่ายขึ้นด้วยโครงการของเขา จะเห็นได้ว่าการพิมพ์สามมิตินั้นไม่มีข้อจำกัดทางไอเดีย สังเกตได้จากประวัติศาสร์ที่ผ่านมาของเจ้าเครืองปริ้นสามมิติ จากบทความข้างต้นที่ผ่านมา หากใครสนใจที่จะปริ้นสามมิติโดยไม่ต้องปวดหัวทำทุกขั้นตอนด้วยตัวเองทางเรามีผู้เชี่ยวชาญที่คอยแนะนำการทุกขั้นตอน และให้คำปรึกษาตั้งแต่ก่อนเริ่มโปรเจคจนจบโปรเจค สำหรรับบทความนี้ก็เป็นประวัติศาสต์เครื่องปริ้นสามมิติตามความเข้าใจของผมนั่นเองครับ หากใครอยากทำความรู้จักกับ 3D Printing ให้มากขึ้นลองเข้าไปอ่านบทความ “สำรวจโลกการพิมพ์สามมิติ” กันได้เลยแล้วมาปลดปล่อยจินตนาการของเราผ่านเทคโนโลยี 3D Printing ไปด้วยกัน