ไขข้อสงสัยทำไมงาน FDM ถึงปริ้นแล้วเห็นเลเยอร์ แล้วควรแก้ไขอย่างไร
ปัจจุบันนี้การพิมพ์ 3 มิติกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและหนึ่งในนั้นคือระบบ FDM เนื่องจากสามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานที่น่าสนใจออกมาได้หลากหลาย จากความนิยมที่มีมากขึ้นนี้เอง จึงส่งผลให้ในขณะนี้มีเครื่องพิมพ์ 3D print เกิดขึ้นหลายรูปแบบ เพื่อรองรับต่อความต้องการ
FDM 3d printer (Fused Deposition Modeling) เป็นหนึ่งในรูปแบบเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่ได้รับความนิยมไม่น้อยเลยในขณะนี้ แม้จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่มีประโยชน์ในการขึ้นโมเดลได้อย่างหลากหลาย แต่ในบางครั้งชิ้นงานที่ออกมาก็อาจจะไม่ได้คุณภาพตามที่ต้องการ รวมถึงเกิดปัญหาปริ้นชิ้นงานแล้วเห็นเลเยอร์ ปัญหานี้คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร จะสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยวิธีการใดได้บ้าง ในบทความนี้ TKK3D มีคำตอบ
Table of Contents
เลเยอร์ในงาน FDM คืออะไร? ทำไมถึงเป็น Layer
ในการพิมพ์ชิ้นงานจาก 3d printer ก็อาจจะเกิดปัญหาเลเยอร์ในชิ้นงานที่พิมพ์ออกมาได้ แน่นอนว่าเมื่อเครื่องพิมพ์ที่ผ่านการใช้งานมานานเก่าก็สามารถส่งผลทำให้เกิดปัญหาต่อชิ้นงานได้ง่าย ๆ รวมถึงปัญหาเลเยอร์ของชิ้นงานด้วย นอกจากนั้นก็ยังสามารถเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้เช่นกัน
สำหรับปัญหาเลเยอร์ หรือ layer shift ที่เกิดขึ้นกับชิ้นงาน 3D print เป็นอาการหลุดสเต็ปของเครื่องพิมพ์ ที่จะมีลักษณะของการที่เครื่องพิมพ์งานได้ไม่ตรงกับจุดเดิม จึงทำให้เกิดชิ้นงานที่เบี้ยว หรืออาจจะหลุดไปจากแนวเดิมที่เคยพิมพ์เอาไว้ได้เลย
ซึ่งสิ่งนี้ส่งผลโดยตรงต่อชิ้นงานที่อาจจะเสียรูปไปได้เลย ทั้งนี้ก็เป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้หลายแบบและเกิดขึ้นได้หลายครั้งในการพิมพ์ชิ้นงานหนึ่งชิ้นนั่นเอง
งานเป็นเลเยอร์เกิดขึ้นได้อย่างไร
มาถึงในส่วนของต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาเลเยอร์ในชิ้นงาน 3D print กันบ้าง โดยส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นจากเครื่องพิมพ์ที่ใช้พิมพ์ชิ้นงานเป็นหลัก ซึ่งถือว่าเป็นสาเหตุหลักเลยก็ว่าได้ เพราะเมื่อเครื่องพิมพ์เกิดการสะดุดในระหว่างที่พิมพ์ชิ้นงานก็อาจจะทำให้ชิ้นงานเสียรูป เกิดเป็นเลเยอร์ และทำให้ผิวของชิ้นงานไม่เรียบสวยงามตามที่ควรจะเป็น
แก้อย่างไรหากชิ้นงานเป็นเลเยอร์ ไม่สวยงาม
หลังจากที่ใช้ 3d printer พิมพ์ชิ้นงานจากไฟล์สามมิติออกมาแล้ว ก็อาจพบปัญหาชิ้นงานเป็นเลเยอร์เกิดขึ้นได้ แน่นอนว่าเมื่อพิมพ์งานออกมาแล้วก็ย่อมต้องการชิ้นงานที่สมบูรณ์แบบและสามารถใช้งานได้เลย แต่ก็เป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยากพอสมควร หากพบปัญหาชิ้นงานมีเลเยอร์ ทำให้งานไม่เรียบเนียน และไม่สวยงาม ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
1. โป๊วสีเคลือบทับชิ้นงาน
วิธีการแรกที่สามารถช่วยแก้ปัญหาชิ้นงาน 3D print เป็นเลเยอร์ได้ก็คือ การโป๊วสีเคลือบทับชิ้นงาน วิธีการนี้เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถช่วยให้ผิวของชิ้นงานเรียบมากขึ้นได้ โดยให้ใช้สีเคลือบทับชิ้นงานไปเลย เมื่อสีที่โป๊วทับลงไปแห้งแล้วก็ให้ทำการขัดขอบเบา ๆ เพื่อเก็บงาน แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรเคลือบสีมากเกินไป เพราะอาจจะทำให้งานดูหนาและไม่สวยงามได้
2. ขัดชิ้นงานด้วยกระดาษทราย
วิธีการต่อมาที่สามารถช่วยแก้ปัญหาชิ้นงาน 3D print เป็นเลเยอร์ได้ ก็คือ การขัดชิ้นงานด้วยกระดาษทราย วิธีการนี้สามารถช่วยตกแต่งผิวของชิ้นงานให้เรียบสวยได้ แต่ก็จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีการและเลือกเบอร์ของกระดาษทรายให้เหมาะสมกับวัสดุของชิ้นงานด้วย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีและช่วยให้ผิวชิ้นงานเรียบสวยพอดี
ในการขัดชิ้นงานที่ทำมาจากวัสดุ PLA ไม่ควรขัดด้วยการใช้เครื่องขัดทรายที่มีความร้อน เนื่องจากจะทำให้ผิวชั้นนอกของชิ้นงานเสียรูปไปได้ แต่ให้ใช้เป็นกระดาษทรายค่อย ๆ ขัดแทน โดยต้องใช้ความอดทนและใจเย็น ซึ่งให้เริ่มจากขัดด้วยกระดาษทรายเบอร์น้อย ๆ ก่อนแล้วค่อยเพิ่มไปยังเบอร์ที่สูงขึ้น ที่สำคัญควรขัดผ่านน้ำด้วย เพื่อช่วยเพิ่มความเนียนและลดความร้อนที่เกิดขึ้นกับชิ้นงานได้
3. ใช้อะซิโตนให้ผิวชิ้นงานสวยขึ้น
การใช้อะซิโตนให้ผิวชิ้นงานสวยขึ้นก็เป็นวิธีการที่สามารถช่วยแก้ปัญหาชิ้นงานเป็นเลเยอร์ได้เช่นกัน โดยวิธีการนี้จะใช้ไอน้ำที่ระเหยออกมาจากอะซิโตน (Acetone) หรือน้ำยาล้างเล็บเข้ามาช่วย ด้วยการนำชิ้นงานไปวางไว้ในโหลแก้ว หรือภาชนะที่มีฝาปิดแล้วใส่อะซิโตนลงไปด้านล่าง หลังจากนั้นอะซิโตนก็จะเกิดการระเหยลอยขึ้นมาสัมผัสกับผิวของชิ้นงานจนทำให้ชิ้นงานละลาย
ช่วยให้ผิวของชิ้นงานที่มีความหยาบก็จะนิ่มมากขึ้น และไหลเข้าหากันจนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน จึงเป็นวิธีช่วยลดรอยต่อของเลเยอร์ได้ แต่ทั้งนี้ในการใช้งานก็อาจจะต้องระวังและไม่ปล่อยชิ้นงานไว้ในโหลนานเกินไป เพราะชิ้นงานจะค่อย ๆ ละลาย ไปเรื่อย ๆ ดังนั้นจึงควรรีบเอาชิ้นงานออกเมื่อได้รูปทรงและผิวของชิ้นงานตามที่ต้องการแล้ว และเมื่อเอาออกมาแล้วควรนำมาแช่น้ำเปล่า จากนั้นค่อยนำมาเป่าให้ชิ้นงานแห้งด้วยลมเย็น เพื่อลดการละลายของชิ้นงานเพิ่ม
4. ใช้เครื่องเป่าลมร้อนตกแต่งชิ้นงาน FDM
อีกหนึ่งวิธีการที่สามารถช่วยแก้ปัญหาชิ้นงานเป็นเลเยอร์ได้ ก็คือ การใช้เครื่องเป่าลมร้อนตกแต่งชิ้นงาน โดยจะเป็นการใช้เครื่องเป่าลมร้อน หรือ Heat Gun ที่มีระบบควบคุมอุณหภูมิมาใช้ในการช่วยลอกสี เคลือบเงา และแต่งรูปทรงของชิ้นงาน
ซึ่งวิธีการนี้นิยมนำมาใช้กับการแก้ปัญหาชิ้นงาน 3d printer เป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถช่วยละลายผิวและปรับรูปทรงของชิ้นงานได้ไม่ยาก อีกทั้งนอกจากจะเป็นวิธีช่วยตกแต่งผิวของชิ้นงานแล้ว ยังสามารถช่วยทำความสะอาดชิ้นงานไปด้วยในตัว
สรุป
การพิมพ์ 3 มิติด้วยเครื่องพิมพ์ 3d printer เพื่อให้ได้ชิ้นงาน 3D print ที่สวยงามก็เป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ดีในการพิมพ์ก็สามารถเกิดปัญหาได้เช่นกัน โดยเฉพาะปัญหาเลเยอร์ที่แม้จะดูเหมือนเป็นปัญหาเล็ก แต่ความจริงแล้วไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด เพราะทำให้ได้ชิ้นงานที่ไม่สวยงามหรือรูปทรงของชิ้นงานไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหานี้ขึ้นก็ควรหาวิธีการแก้ปัญหาโดยด่วน ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาที่แนะนำไว้ก็สามารถนำไปปรับใช้กับชิ้นงานที่เกิดปัญหาได้เลย