ไฟล์ STL มีข้อดีอย่างไร ทำไมถึงควรนำมาใช้งาน
3D print เป็นสิ่งที่ผู้คนไม่น้อยเลยกำลังให้ความสนใจกัน เนื่องจากว่ากระแสของการเก็บสะสมโมเดลกำลังมาแรงอย่างมาก ทำให้มีผู้คนสนใจการสร้างสรรค์และผลิตโมเดล 3 มิติกันมากมาย ซึ่งหากว่าได้อยู่ในวงการของการทำโมเดล 3 มิติก็เชื่อว่าจะต้องรู้จักไฟล์ STLกันอยู่แล้ว แต่สำหรับบางคนที่กำลังสนใจหรืออยากจะเข้าวงการนี้ก็อาจจะยังไม่รู้ว่าสิ่งนี้คืออะไร? ในบทความนี้จะพาทุกท่านมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้กันให้มากขึ้น
Table of Contents
ไฟล์สามมิติ นำมาใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง?
STL ย่อมาจาก stereolithrography เป็นสิ่งที่หลายคนในวงการไฟล์ 3 มิติ รู้จักกันดีว่าเป็นไฟล์ที่ช่วยถ่ายโอนข้อมูลรูปทรงเรขาคณิตที่ผ่านการออกแบบประกอบขึ้นมาให้กลายมาเป็นงาน 3 มิติได้ อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่ทำให้การออกแบบผ่านคอมพิวเตอร์ (CAD) นั้นเกิดขึ้นจริงเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา
นอกจากที่กล่าวมาแล้วประโยชน์ไฟล์ 3D อย่าง STL ยังสามารถสร้างต้นแบบได้อย่างรวดเร็วด้วย โดยไฟล์ STL ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่าย สร้างโมเดลให้เป็นงานต้นแบบได้อย่างรวดเร็ว นั่นจึงทำให้ไฟล์ชนิดนี้มักนิยมนำมาใช้ในการออกแบบสินค้าหรือชิ้นส่วนต่าง ๆ เพื่อพิมพ์สินค้าออกมา ทำการทดสอบก่อนเข้าสู่ขั้นตอนออกแบบที่เสร็จสมบูรณ์เพื่อการผลิตจริงในขั้นตอนสุดท้ายต่อไปนั่นเอง
ทำความรู้จักกับ ไฟล์ STL
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าไฟล์สามมิติ SLT นั้น นิยมใช้ในงานพิมพ์แบบ 3 มิติ และยังใช้ในการออกแบบที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAD) โดยไฟล์ประเภทนี้แต่ละไฟล์ จะเป็นการประกอบกันขึ้นมาจากสามเหลี่ยมหลาย ๆ รูปที่เชื่อมต่อกัน ซึ่งจะทำหน้าที่ในการกำหนดพื้นผิวรูปร่างของโมเดล 3 มิติ ทั้งนี้ยิ่งงานที่ออกแบบมามีความซับซ้อนของงานมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้จำนวนสามเหลี่ยมที่เกิดขึ้น มีมากตามความละเอียดของชิ้นงานด้วย
ข้อดีของการทำ ไฟล์ STL
ในการใช้งานไฟล์สามมิติ SLT นั้นถือว่ามีข้อดีมากมายเลย จึงอยากให้ได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้กันให้มากขึ้น โดยเฉพาะกับมือใหม่ในวงการนี้ ซึ่งข้อดีของไฟล์ STL มีดังต่อไปนี้
- รองรับเครื่องพิมพ์ 3 มิติได้เกือบทุกรุ่น โดยไฟล์ SLT ในปัจจุบันนี้สามารถนำมาใช้งานได้กับเครื่องพิมพ์ 3 มิติเกือบทุกรุ่นเลย เนื่องจากว่าเป็นไฟล์ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลจึงช่วยให้การใช้งานไฟล์ทำได้ง่ายมากขึ้น
- ใช้สร้างงานได้หลากหลายชนิด โดยสามารถนำไฟล์สามมิติ SLT มาเพื่อใช้สร้างชิ้นงานได้หลากหลายมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างกระถางต้นไม้, โคมไฟ หรือแม้กระทั่งขาตั้งกล้องก็สามารถสร้างได้เช่นกัน เพราะสามารถเลือกรูปทรงของชิ้นงานได้ตามต้องการเลยนั่นเอง
ไฟล์มีขนาดเล็ก เพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผล โดยไฟล์สามมิติชนิดนี้ไม่มีทั้งสี และผิวสัมผัส จึงทำให้ไฟล์นั้นมีขนาดที่เล็ก เมื่อไฟล์มีขนาดเล็กการประมวลผลก็รวดเร็วตามไปด้วย ซึ่งจัดว่ารวดเร็วมากกว่าไฟล์แบบอื่น ๆ เลยด้วยล่ะ
ข้อเสียของ ไฟล์ STL ที่ควรรู้ไว้
นอกจากการใช้งานไฟล์ SLT จะมีข้อดีแล้ว แต่อย่างไรก็ตามไฟล์นี้ก็มีข้อเสียที่ควรรู้ก่อนใช้งานอยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งข้อเสียก็มีดังต่อไปนี้
- มีข้อจำกัดเรื่องการแสดงสีและผิวสัมผัสของวัตถุ โดยในเรื่องนี้ถือว่าเป็นหนึ่งในข้อจำกัดที่สำคัญของไฟล์ชนิดนี้เลย แม้ว่าจะสามารถพิมพ์ชิ้นงานที่มีรูปทรงซับซ้อนได้ แต่กลับไม่สามารถแสดงสีและผิวสัมผัสได้จึงทำให้มักนำไฟล์ชนิดนี้มาใช้สร้างงานต้นแบบมากกว่าการใช้เพื่อทำชิ้นงานในขั้นตอนสุดท้าย
- ไม่สามารถเก็บข้อมูลเมตาได้ ถือเป็นอีกหนึ่งข้อจำกัดของการใช้งานไฟล์ SLT เลย นอกจากนั้นก็รวมไปถึงการไม่สามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ ผู้สร้าง หรือว่าตำแหน่งที่ตั้งได้เลย ซึ่งเหล่านี้ก็คือ ข้อมูลสำคัญที่จำเป็นต่อการนำมาใช้เผยแพร่นั่นเอง
รู้ก่อนใช้งานไฟล์ SLT ไม่ได้เหมาะกับการพิมพ์ 3 มิติทุกรูปแบบ
จากที่กล่าวมาก่อนหน้านี้จะเห็นได้ว่าข้อดีของไฟล์ SLT ก็คือเรื่องของการใช้พิมพ์ 3 มิติที่สามารถใช้ได้กับเครื่องพิมพ์เกือบทุกรุ่น แต่ในการพิมพ์งาน 3 มิติแต่ละชิ้นงานนั้น ก็ไม่ใช่ว่าไฟล์ชนิดนี้จะสามารถนำมาใช้งานได้กับการพิมพ์งานทุกรูปแบบ เนื่องจากข้อจำกัดบางประการที่มีจึงทำให้ไม่สามารถพิมพ์ชิ้นงานบางแบบได้
เหตุผลที่ทำให้ไม่สามารถพิมพ์ชิ้นงานได้ทุกรูปแบบก็เพราะไฟล์สามมิติ SLT นี้มีไว้เพื่อการจัดรูปแบบรูปทรงเรขาคณิตของชิ้นงานเท่านั้น และไม่ได้มีการแสดงรายละเอียดของชิ้นงานได้มากนัก จึงเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นไฟล์ที่ทำหน้าที่จำลองชิ้นงานเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งรูปทรงของชิ้นงานที่เห็นก็อาจจะไม่ได้เป็นรูปแบบชิ้นงานไฟนอลทั้งหมดนั่นเอง
สรุปแล้ว ไฟล์ SLT น่าใช้หรือไม่
ก่อนหน้านี้ที่กล่าวไปก็คงจะได้ทราบกันมากขึ้นแล้วถึงข้อดีของการเลือกใช้ไฟล์ SLT ในการทำชิ้นงาน 3 มิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านความสามารถที่รองรับการใช้งานได้กับเครื่องพิมพ์เกือบทุกรุ่น และสามารถนำมาใช้สร้างชิ้นงานได้หลากหลายรูปแบบ รวมถึงมีขนาดไฟล์ที่เล็ก ซึ่งส่งผลดีต่อการประมวลผล
อย่างไรก็ตามเมื่อมีข้อดี ก็ย่อมมีข้อเสียอยู่ด้วยเช่นกัน ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ โดยข้อเสียที่มีก็อาจจะกลายเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนเลือกที่จะไปใช้ไฟล์สามมิติอื่น ๆ เพื่อผลิตชิ้นงานแทนไฟล์ SLT ได้ โดยเฉพาะการที่ไฟล์มีความขนาดเล็ก ก็หมายถึงว่าความละเอียดของชิ้นงานจะน้อยตามไปด้วย และไม่สามารถแสดงสีและพื้นผิวชิ้นงานได้ทั้งหมด
อีกทั้งไฟล์ชนิดอื่นที่มีอยู่ในขณะนี้ก็ล้วนมีประสิทธิภาพหลาย ๆ อย่างที่ดีกว่าไฟล์ SLT แล้วด้วย ที่ทั้งเรื่องการตรวจและแก้ไขชิ้นงานก็สามารถทำได้ง่ายกว่า แต่ทั้งนี้ไฟล์ SLT ก็ยังคงมีประโยชน์ในด้านการวางออกแบบชิ้นงานเบื้องต้นที่ทำได้ง่ายนั่นเอง จึงควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการขึ้นรูปแบบชิ้นงานนั่นเอง
สรุป
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลเกี่ยวกับไฟล์ 3D print อย่างไฟล์ SLT ซึ่งนับว่าเป็นอีกหนึ่งไฟล์ที่สำคัญในการนำมาใช้เพื่อสร้างสรรค์งาน 3 มิติ โดยจะเห็นได้เลยว่านอกจากจะเป็นไฟล์ที่มีประโยชน์แล้ว ก็มีข้อเสียในการใช้งานอยู่บางประการด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ก็เป็นเรื่องที่ควรนำมาใช้ประกอบการพิจารณาก่อนการใช้งานจริง เพื่อให้สามารถใช้งานแล้วตอบโจทย์ทุกความต้องการได้นั่นเอง