ถ้าคุณมีโปรเจ็คที่ต้อง พิมพ์สามมิติ ไม่ว่าจะเป็นต้องการทำ Mockup, Prototype หรือไม่ว่าจะเป็นงานพุทธศิลป์ก็ตาม เพราะว่างานพิมพ์สามมิตินั้นมีหลากหลายกระบวนการไม่ว่าจะเป็น FDM 3Dprinting ที่เป็นกระบวนการผลิตที่นิยมมากที่สุด ก็จะมีวัสดุที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น PLA+, ABS, PETG, eTPU และ Nylon เป็นต้น SLA 3Dprinting เป็นการผลิตที่เน้นความละเอียดของงานเป็นหลัก เช่นวัสดุ Standard Resin, Resin 8k และ Hard Tough Resin เป็นต้นอ่านบทความนี้คุณจะเข้าใจและสามารถเลือกกระบวนการ ปริ้นงานสามมิติ ได้ทันที
ปริ้นงานสามมิติ Prototype Mockup หรืองานต้นแบบ
งานต้นแบบเพื่อนำไปนำเสนองาน
หากคุณกำลังจะนำเสนองานให้กับลูกค้า หรือต้องการนำเสนอโปรเจ็คของเรา ให้กับหัวหน้าถ้าเราทำเสนอแต่รูปภาพอย่างเดียวสมัยนี้คงจะไม่พอจะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถนำโปรเจ็คพวงเราออกมาพรีเซ็นต์ให้กับลูกค้าของเราโดยการพิมพ์สามมิติแบบนี้เราจะแนะนำให้ปริ้น 3D เป็นระบบ FDM โดยวัสดุที่เราจะเลือกใช้ในการ ปริ้นงานสามมิติ กับงานที่ต้องการนำไปเสนอนั่นก็คือวัสดุ PLA+ เหตุผลที่เลือกวัสดุนี้ก็เพราะว่า
- เป็นวัสดุที่ราคาถูกที่สุด
- ได้ชิ้นงานไว ใช้เวลาในการพิมพ์ไม่นาน
- ถ้าชิ้นงานใหญ่สามารถปรับคามละเอียดให้สามารถพิมพ์ได้ไวขึ้น
ข้อจำกัดของวัสดุนี้ก็คือ
- ผิวงานจะมีลักษณะเป็นชั้นๆ เหมือนในรูปเพราะกระบวนการปริ้นสามมิติ ของระบบ FDM นี้จะพิมพ์ขึ้นมาทีละชั้น
- ถ้างานที่มีความละเอียดสูงจะเก็บรายละเอียดได้ไม่ครบเท่ากับการพิมพ์3D ระบบ SLA
- ไม่เหมาะกับงานชิ้นเล็กเหตุผลเหมือนกับข้อที่แล้ว เหมาะกับการปริ้นเรซิ่นมากกว่า
งานต้นแบบที่ต้องการความสวยงาม
แต่ในบางกรณีที่ต้องการนำเสนองานให้กับลูกค้าหรือว่าหัวหน้าที่ต้องการต้นแบบให้ใกล้เคียงหรือเหมือนกับงานจริงให้มากที่สุด กล่าวคือรูปร่างลักษณะ ขนาด Dimension รวมถึงสีที่ใกล้เคียงกับ Product จริงให้มากที่สุด ทางเราจะแนะนำเป็น 2 วิธีโดยจะแบ่งง่ายๆเป็นตามขนาดดังนี้
- งานขนาดเล็ก ถึง ขนาดกลาง ตามตัวอย่างในภาพ ทางเราจะแนะนำเป็นงานเรซิ่น ( SLA 3DPrinting ) เพราะว่าจะได้งานออกมาที่สวย คม และเก็บรายละเอียดได้ครบถ้วน
โดยกระบวนการจะเป็น เก็บงานขัดแต่งชิ้นงานหลังจาก ปริ้นงานสามมิติ เสร็จ นั่นก็คือ ใช้กระดาษทรายขัดแต่งชิ้นงานให้ผิวเรียบเนียนหลังจากนั้นก็จะนำไปพ่นสีรองพื้นและนำไปลงสีจริง นั่นก็คือการพ่นสีด้วยกาพ่นหรือ แอร์บรัชเป็นต้น - งานที่มีขนาดใหญ่มาก (ในกรณีที่งานใหญ่มากกว่า 1 เมตรขึ้นไป) เพราะในบางที่งานขนาดใหญ่นั้นรายละเอียดชิ้นงานอาจจะไม่ได้เยอะและรายละเอียดนั้นไม่ได้มีขนาดเล็กจนเกินไปถ้าเราปริ้นโดยกระบวนการ FDM 3DPrinting ด้วยวัสดุ PLA+ เพราะว่ากระบวนการปริ้นสามมิติ แบบพลาสติกนั้นจะใช้เวลาที่เร็วกว่าและค่าใช้จ่ายนั้นถูกกว่าปริ้นเรซิ่นเยอะ แต่กระบวนการหลังจากปริ้นมาแล้วจมีขั้นตอนเยอะกว่า เพราะว่าหลักจากปริ้นสามดีออกมาแล้วเราต้อแกะ ซัพพอท ขัดแต่งชิ้นงาน ประกอบชิ้นงาน และโป๊วชิ้นงานทำให้ผิวเรียบ แล้วจึงค่อยนำไปทำสีทีหลังอีกที
งาน Model Art Toy, Model Figure ที่ต้องการความสวยงาม
งาน Art Toy
ในส่วนของงาน Art toy นั้นจากบทความด้านบนจะเห็นได้ว่าถ้าเราต้องการงานที่มีผิวสวยงาม สามารถนำไปทำเป็น Prototype หรือนำไปลงสีและนำไปถ่ายรูปก่อนเพื่อเอาชิ้นงานของเรานั้นไป Pre Order ก่อนก็สามารถทำได้โดยจะแนะนำการปริ้นแบบ SLA 3D Printing ด้วยวัสดุ Standard Resin นอกจากนี้งาน Art Toy ถ้าต้องการผลิตจำนวนไม่เยอะมาก หรือไม่อยากใช้ทุนเยอะในการผลิตลอทใหญ่การพิมพ์สามมิติโดยใช้วัสดุเรซิ่นก็เหมาะสมเพราะการผลิตจำนวนมากก็จะใช้ต้นทุนที่มากขึ้นเช่นกัน เพราะฉะนั้นหากใครมีโปรเจ็คที่กำลังจะ ผลิต Art toy ขายวิธีการนี้จะเหมาะมาก แต่ถ้าใครทดลองขายแล้วสรุปว่าสามารถขายได้ดี หรือว่ามียอดจองเข้ามาเยอะก็จะแนะนำให้ปริ้นตัวต้นแบบด้วยวัสดุ Resin 3d print และทำการเก็บงานให้ผิวเรียบเพื่อที่จะนำงานต้นแบบนั้นไปเข้ากระบวนการหล่อต่อไป ไม่ว่าจะเป็นหล่อเรซิ่น หล่อยาง หรือวัสดุต่างๆที่ต้องการ
งาน Model Action Figure
ในส่วนของสาย Model Figure ไม่ว่าจะสายสะสมหรือว่าคนที่มีโมเดลที่สะสมอยู่แล้วเกิดเหตุกาณ์ไม่คาดฝันโมเดลของเราเกิดความเสียหาย การพิมพ์สามมิติก็จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหา ณ จุดนี้ได้อย่างดี ยกตัวอย่างเช่นมือของโมเดลหักหรือชำรุดไปหรือหาย เราก็แค่ส่งมาสแกนเพื่อทำไฟล์สามมิติขึ้นมาหลังจากนั้นเราก็นำมา ปริ้นงานสามมิติ มือของโมเดลของเรากลับขึ้นมาและนำไปประกอบทำสีให้เหมือนใหม่ หรือว่าอยากทำโมเดลการ์ตูนที่เราชอบตามแบบจินตนาการของเราก็สามารถทำได้ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เราแนะนำให้ปริ้นงานโดยใช้วัสดุ Standard Resin เพราะจะได้รายละเอียดที่คมชัดสวยงามผิวเรียบเนียนนั่นเอง (ยกเว้นเราจะต้องการโมเดลขนาดใหญ่เกินเมตรเราค่อยไปใช้การพิมพ์แบบเส้นหรือ FDM นั่นเอง)
ปริ้นงานสามมิติ ตุ๊กตาของที่ระลึก
หากตอนนี้บริษัทของคุณกำลังจะทำของที่ระลึกเป็นตุ๊กตาสักตัวหรือถ้วยรางวัลเก๋ๆ มอบให้แก่ลูกค้าที่น่ารักหรือ พนักงานในบริษัท ก่อนอื่นเลยเหมือนที่ได้กล่าวมานั่นก็คือเราจะมาพิจารณาจากจำนวนที่ต้องการทำเช่น ต้องการทำตุ๊กตาหมีสีแดงเป็นงานเรซิ่นจำนวน 30 ตัว จากกรณีนี้ทางเราจะแนะนำเป็นปริ้นสามมิติ SLA 3D Printing ออกมา 30 ตัวและทำสีแต่ถ้าสมมติว่าต้องการผลิตแจกลูกค้าเป็นจำนวน 300 ตัวและต้องการแจกในทุกๆปีทางเราจะแนะนำให้ปริ้นเรซิ่นออกมาก่อน 1 ตัวและขัดเก็บทำสีให้เรียบร้อยหลังจากนั้นค่อยเอาไป ถอดแบบทำโมล แล้วจึงเข้าสู่กระบวนการหล่อเรซิ่นต่อไป เพราะการหล่อเรซิ่นเราสามารถเก็บโมลเอาไว้เพื่อหล่อจำนวนเยอะๆได้ราคาหล่อเรซิ่นจะน้อยกว่าการปริ้นเรซิ่นแต่ต้องเน้นย้ำกันไว้ก่อนว่าต้องจำนวนเยอะถึงจะคุ้มกว่า
งานพุทธศิลป์
มาถึงอีกงานที่ถือว่าตอนนี้ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมากนั่นก็คืองานพุทธศิลป์นั่นเองเพราะว่าด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้กระบวนการผลิตงานพุทธศิลป์นั้นง่ายและสะดวกขึ้นมากเพราะเราสามารถสแกนสามมิติเพื่อเก็บข้อมูลพระพุทธรูปหรือรูปปั้นที่เราต้องการทำออกมาเป็นไฟล์สามมิติเพื่อนำไป ออกแบบสามมิติ แต่งไฟล์สามมิติ และปริ้นสามมิติตามลำดับข้อดีคือเราสามารถเห็นงานในรูปแบบ 3D Model ก่อนทีเราจะสั่งผลิตจริงได้นอกจากนั้นเรายังสามารถปรับแต่งตามที่เราต้องการโดยไม่ต้องรอช่างปั้นดินอีกต่อไปนอกจากนั้นเรายังสามารถปรับขนาดให้เล็กหรือใหญ่ตามที่เราต้องการได้เลยไม่ต้องเสียเวลาปั้นแบบขึ้นมาใหม่โดยเราจะแบ่งงานพุทธศิลป์เป็น 3 แบบตามขนาดดังนี้
งานพุทธศิลป์ขนาดเล็ก
งานพุทธศิลป์ขนาดเล็กเช่น งานพระขนาดห้อยคอ เหรียญพระ หรือจะเป็นพระขนาดวางหน้ารถที่ต้องการความละเอียดสูงในการทำต้นแบบทางเราจะแนะนำเป็นเรซิ่นแบบความละเอียดสูง (High Precision Resin) หรือเรซิ่น 8k จะตอบโจทย์มากที่สุดเพราะสามารถเก็บรายละเอียดจุดเล็กๆได้ดีคมชัดหล่อขึ้นงานออกมาสวยคมชัด ถ้าปริ้นเรซิ่นธรรมดา ก็ได้เหมือนกันเพราะว่าเรซิ่นธรรมดาราคาจะถูกกว่าแต่ก็ต้องยอมรับเรื่องความคมชัดนั่นเอง
งานพุทธศิลป์ขนาดกลาง ขนาดใหญ่(ที่ต้องการความละเอียด)
ในส่วนของงานที่มีขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่จนเกินไปทางเราจะแนะนำเป็นเรซิ่น Standard Resin จะมีความสวย คม และราคาถูกกว่าเรซิ่น High Precision Resin เช่นพระที่มีขนาดหน้าตัก 3 นิ้วขึ้นไป (ยกตัวอย่าง) ในส่วนของขนาดใหญ่แต่ไม่ถึงกับใหญ่ขนาดเป็นเมตรขึ้นไปก็สามารถปริ้นเป็นเรซิ่นธรรมดาได้แต่หากต้องการประหยัดก็อาจจะปริ้นร่วมกับพลาสติกได้ เช่น พระพุทธรูปที่มีฐาน ในส่วนของพระพุทธรูปนั้นเราต้องการเก็บรายละเอียดเราก็จะพิมพ์เป็นเรซิ่น แต่ในส่วนฐานนั้นเราไม่เน้นรายละเอียดเราก็จะปริ้นพลาสติก ทดแทน นั่นเอง
งานพุทธศิลป์ขนาดใหญ่ (เมตรขึ้นไป)
ในส่วนของงานที่มีขนาดใหญ่มากเราจะแนะนำให้กัดโฟมจะประหยัดที่สุดแต่รายละเอียดจะน้อยมากๆต้องมาแต่งเพิ่มค่อนข้างเยอะแต่ถ้าปริ้นพลาสติกจะดีกว่าเพราะจะสามารถเก็บรายละเอียดได้ดีและราคาไม่แพงจนเกินไป แต่ถ้าใครงบถึงทางเราก็แนะนำให้ปริ้นเรซิ่น ไปเลยจะได้สวยจบทีเดียว
ปริ้นงานสามมิติ ชิ้นส่วนวิศวกรรม
ในส่วนของชิ้นส่วนวิศวกรรมทางเราขอแยกออกเป็นสองส่วนเพราะว่า บางคนอาจจะต้องการ
ทำเป็นตัวอย่างเพื่อเอาไปลงสวมประกอบ Fitting ลองดูว่างานที่เราขึ้นแบบสามมิติมาสามารถประกอบกับงานของเราได้หรือไม่ หรือบางคนต้องการผลิตเอาไปใช้จริงเลยก็สามารถทำได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น อะไหล่ของรถยนต์บางชิ้นที่เก่าและไม่สามารถหาซื้อได้ก็สามารถปริ้นออกมาและนำไปประกอบเข้ากับส่วนของรถยนต์ที่พังหรือเกิดความเสียหายได้เลย
ชิ้นส่วนวิศวกรรม Prototype
ในส่วนของการทำ Prototype ถ้าหากเราไม่ต้องการพื้นผิวของงานที่เรียบเนียนเราแค่ต้องการนำชิ้นส่วนที่เราออกแบบมาไปทดลองประกอบดูเราก็ปริ้นเป็นวัสดุ PLA+ ก็สามารถนำไปทดลองประกอบได้แต่ถ้าต้องนำไปประกอบและมีการรับแรงบ้างหรือว่าอยู่ในพื้นที่ที่มีความร้อนก็จะแนะนำเป็นวัสดุ PETG หรือ ABS เพื่อความแข็งแรงและทนความร้อนมากกว่าวัสดุ PLA+ นั่นเอง
ชิ้นส่วนวิศวกรรมนำไปใช้จริง
ถ้าหากเราต้องการนำไปใช้จริงจากที่กล่าวมาข้างต้นทางเราจะแนะนำให้ปริ้นโดยใช้วัสดุที่มีความแข็งแรงนั่นก็คือ ABS หรือ PETG เพื่อนำไปประกอบแต่ถ้าเราต้องการทั้งความแข็งแรง + ความสวยงามของพื้นผิวด้วยหละถ้าเป็นแบบนี้จะแนะนำเป็น SLA 3DPrint โดยใช้วัสดุ Hard Tough Resin จะได้ทั้งความแข็งแรงและพื้นผิวเรียบไม่ต้องนำไปขัดโป๊วให้เหนื่อย
งานสถาปัตยกรรม
งานสถาปัตยกรรมสำหรับนักศึกษา
ถ้าหากเรามีโปรเจ็คที่ต้องตัดโม เพื่อส่งอาจารย์ซึ่งไม่ต้องใช้ความละเอียดสูงทางเราจะแนะนำเป็น วัสดุ PLA+ ปริ้นเป็นแบบพลาสติกเพราะว่ามีราคาที่ถูกและรวดเร็วถูกใจเด็กสถาปัตแน่นอน แต่สำหรับเด็กสถาปัตที่ใช้โปรแกรม Sketchup ในการออกแบบอาจจะต้องดูวิธีการ Export Files เป็น stl หรือ obj เพราะว่าไฟล์ชอบมีปัญหามีแต่พื้นผิวแต่ไม่ต้องห่วงทางเรามีบริการซ่อมไฟล์ให้ก่อนปริ้น
งานสถาปัตยกรรมทั่วไป
สามารถเลือกวัสดุตามความเหมาะสม ตามรูป ถ้าเราต้องการความละเอียดมากเก็บดีเทลเล็กๆเช่น เจดีย์วัดไทย เป็นต้นทางเราจะแนะนำเป็นวัสดุ Resin เพราะจะเก็บรายนละเอียดได้ครบถ้วนสวยงาม แต่ถ้าเป็นขนาดใหญ่ขึ้นมาก็จะแนะนำเป็น PLA+ เพราะพิมพ์สามมิติออกมาได้รูปทรงเหมือนกันแต่ว่าพื้นผิวของงานปริ้น3D อาจจะเป็นผิวตามความละเอียดที่เราปรับตั้งค่า
พร็อพประกอบฉากสำหรับถ่ายทำ mv, ภาพยนต์, โฆษนา
สำหรับงานผลิตพร็อพ สร้างพร็อพ สำหรับถ่ายทำ mv, ภาพยนต์ หรือแม้กระทั่งโฆษนาก็ตามทางเราจะแนะนำเป็นวัสดุเรซิ่นเพราะว่าการจะทำพร็อพนั้นจะต้องทำสี เพื่อเอาเข้าฉาก เพราะฉนั้นการเลือก 3DPrinting ให้เหมาะกับงานนี้ก็คือ SLA 3DPrinting เพื่อนำไปขัดแต่ง เพื่อเตรียมผิวชิ้นงานต่อจากนั้นเราก็จะนำไปทำสีเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนเอาเข้าฉากนั่นเอง
สรุป
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเราสามารถสรุปง่ายๆเลยก็คือ
1.ถ้าเป็นงานเล็กมากๆ จะแนะนำให้ปริ้น เรซิ่น 8k (High Precision Resin)
2.ต้องการงานละเอียด สวย คม ผิวเรียบแนะนำเป็นเรซิ่น Standard
3.ราคาเป็นมิตร งานไว แนะนำเป็น FDM 3DPrint (PLA+)
4.งานแข็งแรง ทนทาน FDM พิมพ์สามมิติ (PETG, ABS) แต่ผิวจะไม่เรียบ
5.สวย ผิวเรียบ แข็งแรง ทนทาน Resin Hard Tough
6.ถ้ายังตัดสินใจไม่ได้ หรือไม่มั่นใจทักมาถามทางไลน์กับเราได้เลยมี Admin คอยดูแลและให้คำปรึกษาฟรี