การปริ้น 3D Scanning หรือสแกนเนอร์ 3 มิติ ในปัจจุบันนี้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เพราะนอกจากจะได้แบบจำลองที่สมจริงแล้ว แถมยังช่วยประหยัดเวลาในการผลิตชิ้นงานนั้นๆ อีกด้วย จึงทำให้บรรดาสายงานศิลปะและงานอุตสาหกรรม มีความต้องการเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพื่อเป็นการนำไปคำนวณผล หรือเทียบเคียงให้มีความเหมาะสมนั่นเอง
1. 3D Scanning คืออะไร

การปริ้น 3d Scanner คือ การสแกนรูป 3 มิติ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างแบบจำลอง ที่มาพร้อมกับรายละเอียดของวัตถุ โดยจะมีการสแกนและเก็บภาพของวัตถุนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของต่างๆ
จากนั้นจะนำเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ในรูปแบบไฟล์สามมิติ ทั้งนี้เพื่อการวัดระยะ คาดคะเน และคำนวณผล ซึ่งจะมีการใช้งานในด้านศิลปะ และด้านอุตสาหกรรม
โดยการปริ้น 3D Scanning จะมีการออกแบบวัตถุต่างๆ ผ่านโปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบโดยเฉพาะ เช่น zbrush solidwork, CAD, Google SketchUp หรือเครื่องสแกนชิ้นงาน จากนั้นจะมีการปริ้นออกมา แต่ไม่ใช่ในรูปแบบของกระดาษ แต่จะเป็นการพิมพ์รูปร่าง 3 มิติ จากเครื่องสแกนเนอร์ 3 มิติ
2. หลักการทำงานของ 3D Scanning

ซึ่งการที่เราจะพิมพ์รูป 3 มิติ ก่อนอื่นเลยจะต้องมีไฟล์ข้อมูลดิจิทัล โดยที่เราสามารถสร้างผลงานดังกล่าวได้ที่โปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบ เช่น โปรแกรม CAD (Computer Aided Design), โปรแกรม Solid Work หรือโปรแกรม Fusion360 เป็นต้น
นอกจากเราจะใช้โปรแกรมเหล่านี้ในการออกแบบชิ้นงาน 3 มิติแล้ว เรายังสามารถนำเอาวัตถุขนาดจริง เข้าเครื่องเพื่อแปลงเป็นไฟล์ดิจิตอล ซึ่งสามารถใช้งานกับ 3d scanner ได้ด้วยเช่นเดียวกัน จากนั้นจะนำไฟล์ดังกล่าวไปทำการ Slice หรือการตัดเลเยอร์งานให้ออกเป็นแผ่นบาง เพื่อที่จะให้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ มีการพิมพ์ทับซ้อนกันเป็นชั้นๆ จนกลายเป็นวัตถุ 3 มิตินั่นเอง
3. 3D Scanning ควรใช้กับงานประเภทไหนได้บ้าง

- ประเภท Reverse Engineer ถือเป็นประเภทที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ซึ่งเป็นการเก็บขนาด 3 มิติ ในอัตราส่วน 1:1 จากผู้ใช้สแกนของจริง โดยจะพบในชิ้นส่วนรถยนต์, แม่พิมพ์ อีกทั้งยังมีการนำเอาไฟล์ 3 มิติ กลับไปทำเป็น CAD 3D เพื่อที่จะทำซ้ำหรือดัดแปลง รวมถึงการแก้ไข
- ประเภท Inspection / Control ประเภทนี้ส่วนใหญ่มักจะใช้สำหรับงานด้านอุตสาหกรรมขั้นสูง เช่น ยานยนต์, อากาศยาน และเครื่องมือแพทย์ เป็นต้น
- ประเภท 3D Artist ส่วนใหญ่จะนิยมในกลุ่มของ ศิลปิน ดีไซน์ สถาปนิก ซึ่งมักจะมีการสแกนรูป 3 มิติเกี่ยวกับงานศิลปะ เช่น งานประติมากรรม งานรูปปั้น และงานศิลปกรรม เป็นต้น โดยการขยายขนาดชิ้นงานตามความต้องการ
4. ประโยชน์ของการปริ้น 3D Scanning
- เห็นภาพเสมือนจริงอย่างชัดเจน การสร้างชิ้นงานวัตถุแบบสามมิตินั้น จะช่วยให้เราเห็นภาพบรรยากาศกับวัตถุดังกล่าวนั้น มีความสมจริงและเข้ากันได้ดีหรือไม่อย่างไร ตามความเหมาะสมของเรา
- มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ซึ่งหากเราต้องการสร้างผลงาน 3 มิติสักชิ้น ถ้ามีไฟล์ของชิ้นงานที่จะสร้างอยู่แล้วนั้น จะช่วยลดความยุ่งยากในการเก็บข้อมูล และยังช่วยในการสร้างแบบชิ้นงานได้ด้วยโปรแกรมออกแบบโดยเฉพาะอีกด้วย
- ประหยัดเวลาในการทำงานมากยิ่งขึ้น จากเดิมที่เราต้องการจะสร้างผลงานรูปแบบ 3 มิติ จะต้องใช้วัสดุมากมาย แถมยังต้องใช้เวลาในการสร้างอย่างน้อย 2 – 3 วันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของชิ้นงาน แต่หากเราใช้เครื่องสแกนชิ้นงานในการผลิต ก็จะช่วยประหยัดเวลาในการสร้างชิ้นงาน แถมยังได้ความสมจริงอีกด้วย
- สามารถประยุกต์กับงานประเภทอื่น เทคโนโลยีการปริ้น 3D Scanning ยังสามารถประยุกต์ใช้ร่วมกับงานประเภทอื่นได้อีกด้วยเช่น งานแฟชั่น ที่สามารถปรับปรุงหรือจัดแต่งได้ตามความต้องการ หรือหากเป็นงานสิ่งปลูกสร้างแบบจำลอง ที่ต้องการรายละเอียดสูง และต้องใช้เวลานาน ซึ่งการปริ้นดังกล่าวก็สามารถช่วยในการทำงานตรงนี้ได้เยอะ
- สามารถผลิตชิ้นงานได้อย่างไม่จำกัด หากชิ้นงานของเรานั้นต้องมีการผลิตเป็นจำนวนมาก ถ้าเราผลิตเองอาจจะต้องใช้ระยะเวลาอย่างยาวนาน แต่ถ้าหากเราใช้เครื่อง และยังมีข้อมูลอยู่แล้ว ก็ช่วยในการผลิตชิ้นงานจำนวนมาก ได้ในระยะเวลาอันสั้น
โดยรวมแล้วการปริ้น 3D Scanning นั้น ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะการผลิตชิ้นงานแบบ 3 มิติ ในขณะที่เราผลิตเองจะต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนาน แต่ถ้าหากเราใช้เครื่องสแกนชิ้นงานนั้น ก็จะช่วยในเรื่องของการร่นระยะเวลาในการผลิต แต่ได้ความคมชัดและสมจริง แถมยังสามารถนำไปประยุกต์กับงานประเภทอื่นๆ ได้อีกด้วย
บทความแนะนำ
บอกทุกประเด็น! 3D Printer คืออะไร? มีกี่ประเภท และแนะนำเลือกแบบไหนดี? บทความนี้มีคำตอบ